ข้อบังคับสมาคม
- Home
- /
- Services
หมวดที่ 1 ความทั่วไป
ข้อ 1. สมาคมนี้มีชื่อเรียกว่า สมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน ใช้อักษรย่อว่า “ส.ส.ป.” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Satit Patumwan Alumni Association” ใช้อักษรย่อว่า “S.P.A.A”
ข้อ 2. เครื่องหมายสมาคม เป็นสี่เหลี่ยม ภายในสี่เหลี่ยมมีเส้นดิ่งมาต่อกันกับเส้นครึ่งวงกลมด้านล่างมีคำว่า "สมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน"
ข้อ 3. สำนักงานของสมาคม ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน เลขที่ 2 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 Website : https://www.satitpatumwanalumni.org
ข้อ 4. นิยามศัพท์
"สมาคม" หมายถึง สมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
"นายกสมาคม" หมายถึง นายกสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
"คณะกรรมการ" หมายถึง คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
"กรรมการ" หมายถึง กรรมการสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
"สมาชิก" หมายถึง สมาชิกสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
"โรงเรียน" หมายถึง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
"ศิษย์เก่า" หมายถึง บุคคลที่เคยเป็นนักเรียนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
"ศิษย์ปัจจุบัน" หมายถึง บุคคลที่เป็นนักเรียนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
"การประชุมใหญ่" หมายถึง การประชุมใหญ่สามัญหรือประชุมใหญ่วิสามัญของสมาชิกแล้วแต่กรณี
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายถึง พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสมาคม
ข้อ 5. สมาคมมีวัถตุประสงค์เพื่อ
5.1. ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคม
5.2. แสดงความรำลึกถึงโรงเรียน เชิดชูเกียรติคุณและชื่อเสียงของโรงเรียน
5.3. ส่งเสริมความสามัคคี ความสัมพันธ์ และช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก
5.4. ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโรงเรียนในกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน
5.5. ดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
5.6. ส่งเสริมศีลธรรม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาติ
5.7. ดำเนินการจัดตั้งสถานศึกษาเมื่อได้รับอนุญาตจากองค์กรหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
5.8. สนันสนุนและ/หรือให้ความร่วมมือกับองค์กรและ/หรือหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน ตลอดจนสมาคม มูลนิธิ และบุคคลอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมด้านการศึกษากีฬา ศิลปวัฒนธรรม และอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
ข้อ 2. เครื่องหมายสมาคม เป็นสี่เหลี่ยม ภายในสี่เหลี่ยมมีเส้นดิ่งมาต่อกันกับเส้นครึ่งวงกลมด้านล่างมีคำว่า "สมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน"
ข้อ 3. สำนักงานของสมาคม ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน เลขที่ 2 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 Website : https://www.satitpatumwanalumni.org
ข้อ 4. นิยามศัพท์
"สมาคม" หมายถึง สมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
"นายกสมาคม" หมายถึง นายกสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
"คณะกรรมการ" หมายถึง คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
"กรรมการ" หมายถึง กรรมการสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
"สมาชิก" หมายถึง สมาชิกสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
"โรงเรียน" หมายถึง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
"ศิษย์เก่า" หมายถึง บุคคลที่เคยเป็นนักเรียนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
"ศิษย์ปัจจุบัน" หมายถึง บุคคลที่เป็นนักเรียนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
"การประชุมใหญ่" หมายถึง การประชุมใหญ่สามัญหรือประชุมใหญ่วิสามัญของสมาชิกแล้วแต่กรณี
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายถึง พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสมาคม
ข้อ 5. สมาคมมีวัถตุประสงค์เพื่อ
5.1. ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคม
5.2. แสดงความรำลึกถึงโรงเรียน เชิดชูเกียรติคุณและชื่อเสียงของโรงเรียน
5.3. ส่งเสริมความสามัคคี ความสัมพันธ์ และช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก
5.4. ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโรงเรียนในกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน
5.5. ดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
5.6. ส่งเสริมศีลธรรม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาติ
5.7. ดำเนินการจัดตั้งสถานศึกษาเมื่อได้รับอนุญาตจากองค์กรหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
5.8. สนันสนุนและ/หรือให้ความร่วมมือกับองค์กรและ/หรือหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน ตลอดจนสมาคม มูลนิธิ และบุคคลอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมด้านการศึกษากีฬา ศิลปวัฒนธรรม และอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
หมวดที่ 2 สมาชิก
ข้อ 6. สมาชิกของสมาคมมี 3 ประเภท คือ
6.1. สมาชิกสามัญ ได้แก่ ศิษย์เก่าของโรงเรียน
6.2. สมาชิกสมทบ ได้แก่ ศิษย์ปัจจุบันของโรงเรียนทั้งนี้สมาชิกสมทบจะเปลี่ยนสถานภาพเป็นสมาชิกสามัญเมื่อพ้นสภาพศิษย์ปัจจุบันโดยอัตโนมัติ
6.3. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงเกียรติ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีอุปการคุณแก่สมาคมหรือโรงเรียน และครูอาวุโส ที่ได้รับมติจากคณะกรรมการให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม
ข้อ 7. คุณสมบัติของสมาชิก
7.1. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
7.2. ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
7.3. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษ
ข้อ 8. ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม
8.1. ให้ผู้มีความประสงค์สมัครสมาชิก ชำระค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมตลอดชีพ จำนวน 2,000 บาท(สองพันบาทถ้วน)
8.2. สมาชิกกิตติมศักดิ์ไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม
ข้อ 9. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก
ผู้สมัครเป็นสมาชิก ต้องยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อนายทะเบียนสมาคมเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ สมาชิกภาพจะเกิดขึ้นเมื่อนายทะเบียนจดแจ้งการเป็นสมาชิกลงในสมุดทะเบียน
ในการตรวจสอบคุณสมบัติ ให้นายทะเบียนติดประกาศรายชื่อของผู้สมัครเป็นสมาชิกไว้ ณ สำนักงานและระบบสารสนเทศของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน หากมีผู้คัดค้านผู้สมัคร เป็นสมาชิกรายใด ให้นายทะเบียนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและลงมติโดยให้มติของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด
หากผู้สมัครรายใดไม่ได้รับการตอบรับเข้าเป็นสมาชิก ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุเหตุผลของการไม่ตอบรับพร้อมทั้งคืนเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมแก่ผู้นั้น
ข้อ 10. สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับหนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้เชิญเป็นสมาชิกของสมาคม
ข้อ 11. สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไนี้
11.1 ตาย
11.2 ลาออกโดยมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรมายังสมาคม
11.3 ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7
11.4 ที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ได้พิจารณาลงมติให้ออก
ข้อ 12. สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
12.1 มีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคมหรือใช้เครื่องหมายของสมาคมเมื่อแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
12.2 มีสิทธิใช้สถานที่ของสมาคมตามเมื่อแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
12.3 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม แต่สมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้ต้องเป็นสมาชิกประเภทสมาชิกสามัญเท่านั้น
12.4 มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมและได้รับประโยชน์ตามที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
12.5 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ
12.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
12.7 สมาชิกสามัญมีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อยจำนวน 30 คน ร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
12.8 สมาชิกสามัญมีสิทธิลงคะแนนการเลือกตั้งได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการสมาคมและมีสิทธิออกเสียงลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุม ทั้งนี้สมาชิกสามัญมีสิทธิเพียง คนละ 1 คะแนน/เสียงเท่านั้นและไม่สามารถรับมอบอำนาจจากสมาชิกผู้อื่นมาดำเนินการลงคะแนน/ออกเสียงได้
12.9 มีหน้าที่จะต้องปฎิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคม
12.10 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมเกียรติแห่งการเป็นสมาชิกของสมาคม
12.11 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสมาคมเท่าที่มีความสามารถ
12.12 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
6.1. สมาชิกสามัญ ได้แก่ ศิษย์เก่าของโรงเรียน
6.2. สมาชิกสมทบ ได้แก่ ศิษย์ปัจจุบันของโรงเรียนทั้งนี้สมาชิกสมทบจะเปลี่ยนสถานภาพเป็นสมาชิกสามัญเมื่อพ้นสภาพศิษย์ปัจจุบันโดยอัตโนมัติ
6.3. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงเกียรติ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีอุปการคุณแก่สมาคมหรือโรงเรียน และครูอาวุโส ที่ได้รับมติจากคณะกรรมการให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม
ข้อ 7. คุณสมบัติของสมาชิก
7.1. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
7.2. ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
7.3. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษ
ข้อ 8. ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม
8.1. ให้ผู้มีความประสงค์สมัครสมาชิก ชำระค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมตลอดชีพ จำนวน 2,000 บาท(สองพันบาทถ้วน)
8.2. สมาชิกกิตติมศักดิ์ไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม
ข้อ 9. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก
ผู้สมัครเป็นสมาชิก ต้องยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อนายทะเบียนสมาคมเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ สมาชิกภาพจะเกิดขึ้นเมื่อนายทะเบียนจดแจ้งการเป็นสมาชิกลงในสมุดทะเบียน
ในการตรวจสอบคุณสมบัติ ให้นายทะเบียนติดประกาศรายชื่อของผู้สมัครเป็นสมาชิกไว้ ณ สำนักงานและระบบสารสนเทศของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน หากมีผู้คัดค้านผู้สมัคร เป็นสมาชิกรายใด ให้นายทะเบียนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและลงมติโดยให้มติของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด
หากผู้สมัครรายใดไม่ได้รับการตอบรับเข้าเป็นสมาชิก ให้นายทะเบียนแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุเหตุผลของการไม่ตอบรับพร้อมทั้งคืนเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมแก่ผู้นั้น
ข้อ 10. สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับหนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้เชิญเป็นสมาชิกของสมาคม
ข้อ 11. สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไนี้
11.1 ตาย
11.2 ลาออกโดยมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรมายังสมาคม
11.3 ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7
11.4 ที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ได้พิจารณาลงมติให้ออก
ข้อ 12. สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
12.1 มีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคมหรือใช้เครื่องหมายของสมาคมเมื่อแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
12.2 มีสิทธิใช้สถานที่ของสมาคมตามเมื่อแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
12.3 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม แต่สมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้ต้องเป็นสมาชิกประเภทสมาชิกสามัญเท่านั้น
12.4 มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมและได้รับประโยชน์ตามที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
12.5 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ
12.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
12.7 สมาชิกสามัญมีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อยจำนวน 30 คน ร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
12.8 สมาชิกสามัญมีสิทธิลงคะแนนการเลือกตั้งได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการสมาคมและมีสิทธิออกเสียงลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุม ทั้งนี้สมาชิกสามัญมีสิทธิเพียง คนละ 1 คะแนน/เสียงเท่านั้นและไม่สามารถรับมอบอำนาจจากสมาชิกผู้อื่นมาดำเนินการลงคะแนน/ออกเสียงได้
12.9 มีหน้าที่จะต้องปฎิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคม
12.10 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมเกียรติแห่งการเป็นสมาชิกของสมาคม
12.11 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสมาคมเท่าที่มีความสามารถ
12.12 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
หมวดที่ 3 การดำเนินกิจการสมาคม
ข้อ 13. นายกสมาคมมาจากการลงคะแนนการเลือกตั้งของสมาชิกสามัญมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกันทั้งนี้ให้วาระการดำรงตำแหน่งเริ่มเมื่อจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ข้อ 14. ในการจัดการเลือกตั้งสมาคม ให้คณะกรรมการสมาคมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยสมาชิกสามัญของสมาคมไม่น้อยกว่า 7 คน เป็นอนุกรรมการ ทำหน้าที่กำหนดวิธีการ รายละเอียด และดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อย เพื่อการดังกล่าวคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งอาจจัดให้มีการเลือกตั้งนายกสมาคมในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคม หรือจัดให้มีการเลือกตั้งทางไปรษณีย์ หรือวิธีการอื่นใดตามที่เห็นสมควรโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสมาคม
บุคคลผู้เป็นอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งต้องวางตนเป็นกลาง และไม่มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้สมัครรับการเลือกตั้งเป็นนายกสมาคม
ในการนับคะแนนการเลือกตั้ง ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาลงคะแนน ถ้ามีผู้ได้คะแนนสูงสุดเท่ากันให้ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเท่ากันจับสลากเพื่อหาผู้ที่ชนะการเลือกตั้งนายกสมาคม
ในกรณีมีผู้ลงสมัครเพียงรายเดียว ให้คณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งดำเนินการให้สมาชิกสามัญลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบผู้ลงสมัครรายนั้น หากคะแนนเห็นชอบไม่เกินกึ่งหนึ่งของผู้ที่มาลงคะแนน ให้อนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งดำเนินการประกาศรับสมัครนายกสมาคมใหม่
เมื่อได้ผู้ชนะการเลือกตั้งนายกสมาคมแล้ว ให้อนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งรับรองและแจ้งผลไปยังคณะกรรมการสมาคมและผู้ชนะการเลือกตั้งภายใน 7 วันนับแต่สิ้นสุดเวลาลงคะแนนในกรณีมีการคัดค้านการเลือกตั้งให้ดำเนินการตามข้อ 15 ให้แล้วเสร็จ
นายทะเบียนมีหน้าที่ไปจดแจ้งการเปลี่ยนแปลงนายกสมาคมและคณะกรรมการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วันนับแต่ได้รับรายชื่อคณะกรรมการสมาคมจากผู้ชนะการเลือกตั้ง
ข้อ 15. การคัดค้านการเลือกตั้งสามารถกระทำได้โดยสมาชิกสามัญเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 30 คน ทำหนังสือแจ้งเหตุแห่งการคัดค้านพร้อมแสดงหลักฐานต่อคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งภายใน 7 วัน นับตั้งแต่สิ้นสุดเวลาลงคะแนน โดยให้คณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งพิจารณาการคัดค้านให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน ทั้งนี้การวินิจฉัยโดยเสียงข้างมากของคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งให้ถือเป็นที่สิ้นสุด
ข้อ 16. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการสมาคมทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน แต่ไม่เกิน 25 คน โดยนายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งภายใน 15 วันหลังจากได้รับแจ้งจากอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้ง โดยมีตำแหน่งและหน้าที่ดังนี้
16.1. นายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนสมาคม ในการติดต่อกับบุคคลภายนอก ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม
16.2. อุปนายก ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม ปฎิบัติภารกิจตามที่นายกสมาคมมอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ และการทำหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกสมาคมตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำแทน
16.3. เลขาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ในงานธุรการของสมาคมและปฎิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคม
16.4. เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคม และเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
16.5. ปฎิคม ทำหน้าที่ในการต้อนรับแขกของสมาคม และเป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ในกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคม
16.6. นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกของสมาคม ประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าลงทะเบียนและบำรุงสมาคม พิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกและต้องแจ้งผลการพิจารณาและมีหน้าที่แจ้งเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 14 ในกรณีที่นายทะเบียนไม่สามารถไปจดแจ้งการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการแทน
16.7. ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกีรยติคุณของสมาคมให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปเป็นที่รู้จักโดยแพร่หลาย
16.8. เลขานุการ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม
16.9. กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่นายกสมาคมเห็นสมควร โดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดตำแหน่งให้ถือเป็นกรรมการกลาง
ข้อ 17. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของคณะกรรมการ นายกสมาคมอาจตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการได้ โดยที่ปรึกษาคณะกรรมไม่มีสิทธิลงคะแนนหรือออกเสียงลงมติใด ๆ ในกิจการของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ให้ที่ปรึกษาคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อนายกสมาคมหมดวาระ
ข้อ 18. ให้คณะกรรมการชุดเก่าส่งมอบงานแก่คณะกรรมการชุดใหม่ภายใน 30 วันหลังจากพนกงานเจ้าหน้าที่ได้รับจดแจ้งแล้ว
ทั้งนี้ให้คณะกรรมการชุดเก่ารักษาการจนถึงวันส่งมอบงานโดยในระหว่างรักษาการ ให้คณะกรรมการชุดเก่ามีอำนาจกระทำการเพียงเท่าที่จำเป็นในกิจการของสมาคมเท่านั้น
ข้อ 19. ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้นายกแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่ง ดำรงตำแหน่งแทนและให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งเข้ามาใหม่ดำรงตำแหน่งตามวาระที่เหลืออยู่
ในกรณีนายกสมาคมพ้นตำแหน่งก่อนวาระให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการแทนนายกสมาคมและจะต้องดำเนินการเลือกตั้งนายกสมาคมใหม่ภายใน 60 วัน ตามข้อ 14 หากเลขาธิการไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึึ่งมาทำหน้าที่แทน
ข้อ 20. กรรมการพ้นจากตำแหน่งซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระเมื่อ
20.1. ตาย
20.2. ลาออกโดยมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรมายังนายกสมาคมและคณะกรรมการมีมติให้ออก
20.3. ขาดจากสมาชิกภาพ
20.4. มีมติที่ประชุมใหญ่ให้ออกโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ข้อ 21. อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
21.1. มีอำนาจออกระเบียบต่าง ๆ เพื่อการบริหารกิจการของสมาคม ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับฉบับนี้
21.2. มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
21.3. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินกิจกรรมของสมาคมตามความเหมาะสม แต่คณะอนุรกรรมการหรือคณะทำงานอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของกรรมการที่แต่งตั้ง
21.4. มีอำนาจแต่งตั้งบุคคลภายนอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการที่ปรึกษา หรือเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ หรือเข้าช่วยเหลือในคณะอนุรกรรมการหรือคณะทำงาน
21.5. มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ประจำปี และประชุมวิสามัญ
21.6. มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กำหนดในข้อบังคับนี้
21.7. มีอำนาจบริการกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้
21.8. มีอำนาจทำนิติกรรม สัญญา หรือสั่งจ่ายเงินของสมาคม หรือดำเนินกิจการตามข้อบังคับหรือระเบียบที่ได้ตราขึ้นไว้
21.9. มีอำนาจสั่งการและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของสมาคมได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
21.10. กรรมการตำแหน่งเหรัญญิกมีหน้าที่จัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย บัญชีงบการเงินประจำเดือน และบัญชีงบดุลประจำปี และปิดประกาศไว้ ณ สำนักงาน ทั้งนี้งบเดือนและงบดุลต้องมีรายการย่อแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของสมาคม
21.11. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการศิษย์เก่า ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนศิษย์เท่าที่เป็นสมาชิกรุ่นต่าง ๆ รุ่นละ 1 คนเพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างสมาคมกับศิษย์เก่าในรุ่น
21.12. มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของสมาคม รวมทั้งการเงินและสินทรัพย์ทั้งหมดของสมาคม
21.13. มีหน้าที่จัดให้มีประชุมใหญ่วิสามัญตามข้อ 12.7 ตามที่สมาชิกสามัญร้องขอภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
21.14. มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน สินทรัพย์ และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมให้ถูกต้องและสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
21.15. จัดให้มีผู้สอบบัญชี ทำการตรวจสอบบัญชีรายรับ - รายจ่ายและรับรองงบดุลประจำปี ของสมาคม โดยผู้ตรวจสอบบัญชีต้องไม่เป็นกรรมการสมาคม หรือลูกจ้างของสมาคม
ให้ผู้สอบบัญชีมีสิทธิตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเงินและบัญชีของสมาคม ถ้าเอกสารดังกล่าวไม่ชัดแจ้ง จะสอบถามลูกจ้างของสมาคม และหรือกรรมการของสมาคมคนใดหรือทั้งคณะก็ได้
การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีให้กระทำโดยมติที่ประชุมใหญ่
21.16. ให้กรรมการตำแหน่งเลขานุการมีหน้าที่จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของสมาคมเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
21.17. มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับกำหนด
ข้อ 22. คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยปีละ 4 ครั้งเพื่อปรึกษาหรือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม
ข้อ 23. การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าประชุม ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ในกรณีที่มีความจำเป็น อาจจะประชุมคณะกรรมการโดยวิธีสารสนเทศก็ได้ แต่ในคราวประชุมครั้งต่อไปให้กรรมการผู้เข้าร่วมการประชุมโดยวิธีสารสนเทศดังกล่าวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย
ข้อ 24. ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคราวนั้น
ข้อ 14. ในการจัดการเลือกตั้งสมาคม ให้คณะกรรมการสมาคมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยสมาชิกสามัญของสมาคมไม่น้อยกว่า 7 คน เป็นอนุกรรมการ ทำหน้าที่กำหนดวิธีการ รายละเอียด และดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อย เพื่อการดังกล่าวคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งอาจจัดให้มีการเลือกตั้งนายกสมาคมในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคม หรือจัดให้มีการเลือกตั้งทางไปรษณีย์ หรือวิธีการอื่นใดตามที่เห็นสมควรโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสมาคม
บุคคลผู้เป็นอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งต้องวางตนเป็นกลาง และไม่มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้สมัครรับการเลือกตั้งเป็นนายกสมาคม
ในการนับคะแนนการเลือกตั้ง ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาลงคะแนน ถ้ามีผู้ได้คะแนนสูงสุดเท่ากันให้ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเท่ากันจับสลากเพื่อหาผู้ที่ชนะการเลือกตั้งนายกสมาคม
ในกรณีมีผู้ลงสมัครเพียงรายเดียว ให้คณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งดำเนินการให้สมาชิกสามัญลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบผู้ลงสมัครรายนั้น หากคะแนนเห็นชอบไม่เกินกึ่งหนึ่งของผู้ที่มาลงคะแนน ให้อนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งดำเนินการประกาศรับสมัครนายกสมาคมใหม่
เมื่อได้ผู้ชนะการเลือกตั้งนายกสมาคมแล้ว ให้อนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งรับรองและแจ้งผลไปยังคณะกรรมการสมาคมและผู้ชนะการเลือกตั้งภายใน 7 วันนับแต่สิ้นสุดเวลาลงคะแนนในกรณีมีการคัดค้านการเลือกตั้งให้ดำเนินการตามข้อ 15 ให้แล้วเสร็จ
นายทะเบียนมีหน้าที่ไปจดแจ้งการเปลี่ยนแปลงนายกสมาคมและคณะกรรมการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วันนับแต่ได้รับรายชื่อคณะกรรมการสมาคมจากผู้ชนะการเลือกตั้ง
ข้อ 15. การคัดค้านการเลือกตั้งสามารถกระทำได้โดยสมาชิกสามัญเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 30 คน ทำหนังสือแจ้งเหตุแห่งการคัดค้านพร้อมแสดงหลักฐานต่อคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งภายใน 7 วัน นับตั้งแต่สิ้นสุดเวลาลงคะแนน โดยให้คณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งพิจารณาการคัดค้านให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน ทั้งนี้การวินิจฉัยโดยเสียงข้างมากของคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้งให้ถือเป็นที่สิ้นสุด
ข้อ 16. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการสมาคมทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน แต่ไม่เกิน 25 คน โดยนายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งภายใน 15 วันหลังจากได้รับแจ้งจากอนุกรรมการว่าด้วยการเลือกตั้ง โดยมีตำแหน่งและหน้าที่ดังนี้
16.1. นายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนสมาคม ในการติดต่อกับบุคคลภายนอก ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม
16.2. อุปนายก ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม ปฎิบัติภารกิจตามที่นายกสมาคมมอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ และการทำหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกสมาคมตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำแทน
16.3. เลขาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ในงานธุรการของสมาคมและปฎิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคม
16.4. เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคม และเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
16.5. ปฎิคม ทำหน้าที่ในการต้อนรับแขกของสมาคม และเป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ในกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคม
16.6. นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกของสมาคม ประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าลงทะเบียนและบำรุงสมาคม พิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกและต้องแจ้งผลการพิจารณาและมีหน้าที่แจ้งเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 14 ในกรณีที่นายทะเบียนไม่สามารถไปจดแจ้งการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการแทน
16.7. ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกีรยติคุณของสมาคมให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปเป็นที่รู้จักโดยแพร่หลาย
16.8. เลขานุการ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม
16.9. กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่นายกสมาคมเห็นสมควร โดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดตำแหน่งให้ถือเป็นกรรมการกลาง
ข้อ 17. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของคณะกรรมการ นายกสมาคมอาจตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการได้ โดยที่ปรึกษาคณะกรรมไม่มีสิทธิลงคะแนนหรือออกเสียงลงมติใด ๆ ในกิจการของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ให้ที่ปรึกษาคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อนายกสมาคมหมดวาระ
ข้อ 18. ให้คณะกรรมการชุดเก่าส่งมอบงานแก่คณะกรรมการชุดใหม่ภายใน 30 วันหลังจากพนกงานเจ้าหน้าที่ได้รับจดแจ้งแล้ว
ทั้งนี้ให้คณะกรรมการชุดเก่ารักษาการจนถึงวันส่งมอบงานโดยในระหว่างรักษาการ ให้คณะกรรมการชุดเก่ามีอำนาจกระทำการเพียงเท่าที่จำเป็นในกิจการของสมาคมเท่านั้น
ข้อ 19. ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้นายกแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่ง ดำรงตำแหน่งแทนและให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งเข้ามาใหม่ดำรงตำแหน่งตามวาระที่เหลืออยู่
ในกรณีนายกสมาคมพ้นตำแหน่งก่อนวาระให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการแทนนายกสมาคมและจะต้องดำเนินการเลือกตั้งนายกสมาคมใหม่ภายใน 60 วัน ตามข้อ 14 หากเลขาธิการไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึึ่งมาทำหน้าที่แทน
ข้อ 20. กรรมการพ้นจากตำแหน่งซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระเมื่อ
20.1. ตาย
20.2. ลาออกโดยมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรมายังนายกสมาคมและคณะกรรมการมีมติให้ออก
20.3. ขาดจากสมาชิกภาพ
20.4. มีมติที่ประชุมใหญ่ให้ออกโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ข้อ 21. อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
21.1. มีอำนาจออกระเบียบต่าง ๆ เพื่อการบริหารกิจการของสมาคม ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับฉบับนี้
21.2. มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
21.3. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินกิจกรรมของสมาคมตามความเหมาะสม แต่คณะอนุรกรรมการหรือคณะทำงานอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของกรรมการที่แต่งตั้ง
21.4. มีอำนาจแต่งตั้งบุคคลภายนอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการที่ปรึกษา หรือเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ หรือเข้าช่วยเหลือในคณะอนุรกรรมการหรือคณะทำงาน
21.5. มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ประจำปี และประชุมวิสามัญ
21.6. มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กำหนดในข้อบังคับนี้
21.7. มีอำนาจบริการกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้
21.8. มีอำนาจทำนิติกรรม สัญญา หรือสั่งจ่ายเงินของสมาคม หรือดำเนินกิจการตามข้อบังคับหรือระเบียบที่ได้ตราขึ้นไว้
21.9. มีอำนาจสั่งการและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของสมาคมได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
21.10. กรรมการตำแหน่งเหรัญญิกมีหน้าที่จัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย บัญชีงบการเงินประจำเดือน และบัญชีงบดุลประจำปี และปิดประกาศไว้ ณ สำนักงาน ทั้งนี้งบเดือนและงบดุลต้องมีรายการย่อแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของสมาคม
21.11. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการศิษย์เก่า ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนศิษย์เท่าที่เป็นสมาชิกรุ่นต่าง ๆ รุ่นละ 1 คนเพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างสมาคมกับศิษย์เก่าในรุ่น
21.12. มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของสมาคม รวมทั้งการเงินและสินทรัพย์ทั้งหมดของสมาคม
21.13. มีหน้าที่จัดให้มีประชุมใหญ่วิสามัญตามข้อ 12.7 ตามที่สมาชิกสามัญร้องขอภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
21.14. มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน สินทรัพย์ และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมให้ถูกต้องและสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
21.15. จัดให้มีผู้สอบบัญชี ทำการตรวจสอบบัญชีรายรับ - รายจ่ายและรับรองงบดุลประจำปี ของสมาคม โดยผู้ตรวจสอบบัญชีต้องไม่เป็นกรรมการสมาคม หรือลูกจ้างของสมาคม
ให้ผู้สอบบัญชีมีสิทธิตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเงินและบัญชีของสมาคม ถ้าเอกสารดังกล่าวไม่ชัดแจ้ง จะสอบถามลูกจ้างของสมาคม และหรือกรรมการของสมาคมคนใดหรือทั้งคณะก็ได้
การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีให้กระทำโดยมติที่ประชุมใหญ่
21.16. ให้กรรมการตำแหน่งเลขานุการมีหน้าที่จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของสมาคมเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
21.17. มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับกำหนด
ข้อ 22. คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยปีละ 4 ครั้งเพื่อปรึกษาหรือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม
ข้อ 23. การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าประชุม ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ในกรณีที่มีความจำเป็น อาจจะประชุมคณะกรรมการโดยวิธีสารสนเทศก็ได้ แต่ในคราวประชุมครั้งต่อไปให้กรรมการผู้เข้าร่วมการประชุมโดยวิธีสารสนเทศดังกล่าวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย
ข้อ 24. ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคราวนั้น
หมวดที่ 4 การประชุมใหญ่
ข้อ 25. การประชุมใหญ่สมาคมมี 2 ชนิด คือ
25.1. ประชุมใหญ่สามัญ
25.2. ประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ 26. คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๆ ละ 1 ครั้ง ภายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีเพื่อให้คณะกรรมการแถลงผลการปฎิบัติงานที่ได้กระทำในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อหารือกิจการทั่วไปของสมาคม และเพื่อให้สมาชิกได้ซักถากหรือเสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการ หรือเพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ลงคะแนนเลือกตั้งนายกสมาคม หรือเรื่องอื่น ๆ ตามประกาศเชิญประชุม
เมื่อครบกำหนดวาระของกรรมการแล้วแต่คณะกรรมการไม่จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ให้สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 100 คน มีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อจัดให้มีคณะกรรมการชุดใหม่
ข้อ 27. การะประชุมใหญ่วิสามัญอาจมีขึ้นได้โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นสมควรหรือสมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่า 30 คนทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการ
ข้อ 28. ให้นายกสมาคมหรือเลขาธิการเป็นผู้ชี้แจงกำหนดการประชุมใหญ่ให้สมาชิกทราบ เป็นลายลักษณ์อักษรและปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานของสมาคม โดยระบุวัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุมให้ชัดเจน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน และประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่าง ๆ ที่เห็นสมควร
กรณีที่สมาชิกสามัญร้องขอให้เรียกประชุมตามข้อ 12.7 หากคณะกรรมการสมาคมไม่เรียกประชุมภายในกำหนด 30 วัน สมาชิกสามัญที่เป็นผู้ร้องขอให้เรัยกประชุมหรือสมาชิกสามัญอื่นรวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 คนมีสิทธิเรียกประชุมเอง
ข้อ 29. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
29.1. รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา
29.2. แถลงกิจกรรมที่ผ่านมาในรอบปี
29.3. แถลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมา
29.4. เลือกตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และกำหนดค่าตอบแทน
29.5. เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ข้อ 30. ในการประชุมใหญ่ จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 30 คนจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้ขยายเวลาออกไปอีก 60 นาที แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ขยายออกไปแล้ว ยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้เลื่อนประชุมคราวนั้นไปและจัดประชุมใหม่อีกครั้งหนึ่งหลังจากเวลาได้ล่วงเลยมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 วัน แต่จะต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เลื่อนการประชุมครั้งแรก สำหรับการประชุมครั้งนี้ ถ้ามีสมาชิกเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใดให้ถือว่าครบองค์ประชุมยกเว้น ถ้าการประชุมใหญ่วิสามัญที่เกิดขึ้นจากการร้องขอของสมาชิก ก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่ ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก
ข้อ 31. การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก หากคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 32. ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคม อุปนายกสมาคม หรือผู้ที่นายกสมาคมมอบหมายไม่สามารถเข้าร่วมประชุมหรือไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ก็ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธารการประชุมคราวนั้น
25.1. ประชุมใหญ่สามัญ
25.2. ประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ 26. คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๆ ละ 1 ครั้ง ภายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีเพื่อให้คณะกรรมการแถลงผลการปฎิบัติงานที่ได้กระทำในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อหารือกิจการทั่วไปของสมาคม และเพื่อให้สมาชิกได้ซักถากหรือเสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการ หรือเพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ลงคะแนนเลือกตั้งนายกสมาคม หรือเรื่องอื่น ๆ ตามประกาศเชิญประชุม
เมื่อครบกำหนดวาระของกรรมการแล้วแต่คณะกรรมการไม่จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ให้สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 100 คน มีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อจัดให้มีคณะกรรมการชุดใหม่
ข้อ 27. การะประชุมใหญ่วิสามัญอาจมีขึ้นได้โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นสมควรหรือสมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่า 30 คนทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการ
ข้อ 28. ให้นายกสมาคมหรือเลขาธิการเป็นผู้ชี้แจงกำหนดการประชุมใหญ่ให้สมาชิกทราบ เป็นลายลักษณ์อักษรและปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานของสมาคม โดยระบุวัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุมให้ชัดเจน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน และประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่าง ๆ ที่เห็นสมควร
กรณีที่สมาชิกสามัญร้องขอให้เรียกประชุมตามข้อ 12.7 หากคณะกรรมการสมาคมไม่เรียกประชุมภายในกำหนด 30 วัน สมาชิกสามัญที่เป็นผู้ร้องขอให้เรัยกประชุมหรือสมาชิกสามัญอื่นรวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 คนมีสิทธิเรียกประชุมเอง
ข้อ 29. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
29.1. รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา
29.2. แถลงกิจกรรมที่ผ่านมาในรอบปี
29.3. แถลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมา
29.4. เลือกตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และกำหนดค่าตอบแทน
29.5. เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ข้อ 30. ในการประชุมใหญ่ จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 30 คนจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้ขยายเวลาออกไปอีก 60 นาที แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ขยายออกไปแล้ว ยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้เลื่อนประชุมคราวนั้นไปและจัดประชุมใหม่อีกครั้งหนึ่งหลังจากเวลาได้ล่วงเลยมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 วัน แต่จะต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เลื่อนการประชุมครั้งแรก สำหรับการประชุมครั้งนี้ ถ้ามีสมาชิกเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใดให้ถือว่าครบองค์ประชุมยกเว้น ถ้าการประชุมใหญ่วิสามัญที่เกิดขึ้นจากการร้องขอของสมาชิก ก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่ ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก
ข้อ 31. การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก หากคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 32. ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคม อุปนายกสมาคม หรือผู้ที่นายกสมาคมมอบหมายไม่สามารถเข้าร่วมประชุมหรือไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ก็ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธารการประชุมคราวนั้น
หมวดที่ 5 การเงินและทรัพย์สิน
ข้อ 33. การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคม ถ้ามีให้นำฝากไว้ในธนาคารหรือตามที่คณะกรรมการจะได้มีมติ
สมุดบัญชีและเอกสารให้เก็บไว้ที่สมาคมและอยู่ในความรับผิดชอบของ "เหรัญญิก"
ข้อ 34. การลงนามในใบสำคัญจ่ายเงิน ตั๋วเงิน หรือเช็คของสมาคมจะต้องมีลายมือชื่อของสมาคม หรือผู้ทำการแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขานุการพร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงถือว่าใช้ได้
ข้อ 35. ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมตามวัตถุประสงค์ได้ครั้งละไม่เกิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้น ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติเป็นคราว ๆ ไป ไม่เกินครั้งละ 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ในกรณีมีความจำเป็นต้องจ่ายเกินกว่านี้ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
ข้อ 36. ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมเพื่อสำรองจ่าย ได้ไม่เกิน 10,000 บาท (หนี่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินจำนวนนี้ต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาศอำนวยให้
ข้อ 37. เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยมีวันสิ้นรอบบัญชีในวันที่ 31 พฤษภาคม และการรับหรือจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทนร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทน พร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
ข้อ 38. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่สมาคม ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต มีอำนาจที่เรียกว่าเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สิน จากคณะกรรมการและสามารถเรียกกรรมการหรือเจ้าหน้าที่สมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชี และทรัพย์สินของสมาคมได้
ข้อ 39. คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีอนุญาตเมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 40. ให้สมาคมจัดให้มีบัญชีธนาคาร "กองทุนทดแทนพระคุณครู" เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือหรือแสดงกตเวทิตาจิตแก่ครูของโรงเรียน โดยจำนวนการนำฝากหรือเบิกจ่ายจากบัญชีดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
ข้อ 41. ให้สมาคมจัดให้มีบัญชีธนาคาร "กองทุนพัฒนาโรงเรียน" เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโรงเรียนและให้การสนับสนุนกิจการ บุคลากร และนักเรียนของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ โดยคำนวณการนำฝากหรือเบิกจ่ายจากบัญชีดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดขึ้น
สมุดบัญชีและเอกสารให้เก็บไว้ที่สมาคมและอยู่ในความรับผิดชอบของ "เหรัญญิก"
ข้อ 34. การลงนามในใบสำคัญจ่ายเงิน ตั๋วเงิน หรือเช็คของสมาคมจะต้องมีลายมือชื่อของสมาคม หรือผู้ทำการแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขานุการพร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงถือว่าใช้ได้
ข้อ 35. ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมตามวัตถุประสงค์ได้ครั้งละไม่เกิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้น ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติเป็นคราว ๆ ไป ไม่เกินครั้งละ 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ในกรณีมีความจำเป็นต้องจ่ายเกินกว่านี้ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
ข้อ 36. ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมเพื่อสำรองจ่าย ได้ไม่เกิน 10,000 บาท (หนี่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินจำนวนนี้ต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาศอำนวยให้
ข้อ 37. เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยมีวันสิ้นรอบบัญชีในวันที่ 31 พฤษภาคม และการรับหรือจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทนร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทน พร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
ข้อ 38. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่สมาคม ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต มีอำนาจที่เรียกว่าเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สิน จากคณะกรรมการและสามารถเรียกกรรมการหรือเจ้าหน้าที่สมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชี และทรัพย์สินของสมาคมได้
ข้อ 39. คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีอนุญาตเมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 40. ให้สมาคมจัดให้มีบัญชีธนาคาร "กองทุนทดแทนพระคุณครู" เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือหรือแสดงกตเวทิตาจิตแก่ครูของโรงเรียน โดยจำนวนการนำฝากหรือเบิกจ่ายจากบัญชีดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
ข้อ 41. ให้สมาคมจัดให้มีบัญชีธนาคาร "กองทุนพัฒนาโรงเรียน" เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโรงเรียนและให้การสนับสนุนกิจการ บุคลากร และนักเรียนของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ โดยคำนวณการนำฝากหรือเบิกจ่ายจากบัญชีดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดขึ้น
หมวดที่ 6 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับการเลิกสมาคม
ข้อ 42. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับของสมาคม จะกระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคมเท่านั้นและจะต้องได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสามชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับของสมาคมจะมีผลใช้บังคับเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ข้อ 43. การเลิกสมาคมให้กระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมเท่านั้นและจะต้องได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิก ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด โดยที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติเลือกผู้ชำระบัญชีเพื่อดำเนินการชำระบัญชีตามกฏหมาย
ให้ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้วตกเป็นของโรงเรียน
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับของสมาคมจะมีผลใช้บังคับเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ข้อ 43. การเลิกสมาคมให้กระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมเท่านั้นและจะต้องได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิก ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด โดยที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติเลือกผู้ชำระบัญชีเพื่อดำเนินการชำระบัญชีตามกฏหมาย
ให้ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้วตกเป็นของโรงเรียน
หมวดที่ 7 บทเฉพาะกาล
ข้อ 44. ให้ศิษย์เก่าก่อนปีพุทธศักร 2547 เป็นสมาชิกสามัญโดยไม่คำนึงว่าบุคคลนั้นได้ชำระค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมตามข้อ 8 หรือไม่
ข้อ 45. ให้คณะกรรมการออกระเบียบว่าด้วย"กองทุนพัฒนาโรงเรียน" ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่ข้อบังคับของสมาคมฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ข้อ 46. ข้อบังคับของสมาคมฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นต้นไป
ข้อ 45. ให้คณะกรรมการออกระเบียบว่าด้วย"กองทุนพัฒนาโรงเรียน" ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่ข้อบังคับของสมาคมฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ข้อ 46. ข้อบังคับของสมาคมฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นต้นไป